พระบรมธาตุแสนไห
พระบรมธาตุแสนไห เป็นพระบรมธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความสำคัญเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวอำเภอเวียงแหง การกำหนดงานประเพณีประจำปี จะมีขึ้น 4 ครั้ง ด้วยกัน งานที่สำคัญที่สุดคือ งานสงฆ์น้ำพระบรมธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ ของทุกปี งานมาฆบูชา จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ งานวันวิสาขบูชา หรือวันเพ็ญเดือน 8 และงานสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี พระบรมธาตุแสนไห เป็นศูนย์รวมจิตใจคนในอำเภอเวียงแหง เป็นพระบรมธาตุคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเวียงแหง หากผู้ใดไปอำเภอเวียงแหงแล้ว ไม่ได้ไปสักการะพระบรมธาตุก็ถือว่ายังไม่ได้ไปถึงอำเภอเวียงแหง









เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่มาได้รับการบูรณะใน พ.ศ. 2457 เป็นประติมากรรมผสมระหว่างพม่าและล้านนาไทย ซึ่งการก่อสร้างทับพระธาตุเดิมที่มีขนาดเล็ก โดยของใหม่มีสันถาวร 8 เหลี่ยม สันนิษฐานว่าที่นี่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยกทัพไปยังเมืองอังวะของพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2147 หลังจากประชุมพลที่เมืองงาย จึงเสด็จไปทางเมืองห้างหลวง ซึ่งน่าจะเป็นเมืองแหงในปัจจุบันเพราะคูเมืองล้อมยาวกว่า 2 กิโลเมตร และเป็นเมืองเดียวที่อยู่ระหว่างเมืองงายกับเมืองอังวะของพม่า เชื่อว่าพระองค์น่าจะเสด็จมาพักทัพที่พระบรมธาตุแห่งนี้ และสร้างบ่อน้ำใช้ส่วนพระองค์ และช้างศึก ตรงบริเวณด้านหน้าเนินเขาที่ประดิษฐ์พระบรมธาตุ ชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำช้าง ประเพณีที่สำคัญของวัดนี้ คืองานสรงน้ำพระธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี
พระบรมธาตุแสนไห ปัจจุบันได้บูรณะขึ้นใหม่ เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ มีฐาน 8 เหลี่ยม วัดโดยรอบ 48 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดฉัตร 21 เมตร
ประวัติความเป็นมาของพระบรมธาตุแสนไห
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอานนท์องค์อุปัฏฐาก เสด็จสุวรรณภูมิเพื่อจาริกและสั่งสอนโปรดสรรพสัตว์ ผ่านนิคมชนบทธานีใหญ่น้อยเรื่อยๆ จนบรรลุถึงเมืองๆ หนึ่ง มีผู้คนจำนวนมากเหมาะแก่การเผยแพร่พระธรรมพระพุทธองค์ได้ประทับยืนอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง และได้ทรงทัศนาภูมิประเทศอันรื่นรมณ์ สวยสด งดงามวิจิตรการด้วยธรรมชาติ เป็นสถานที่วิเวกวังเหง เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม จวบคือเพลานั้นเป็นสายัณกาลดวงทินกรกำลังจะลับเหลี่ยมภูเขา พระพุทธองค์ก็ตัดสินพระทัยประทับแรม ณ ที่แห่งนั้น
พอวันรุ่งขึ้นวันใหม่ ชาวกระเหรี่ยง ( ยาง, ปกาญอ ) ได้นำข้าวปลาโภชนาอาหารพร้อมกับแตงโมลูกหนึ่งไปถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์ได้นำแตงโมลูกนั้นไปผ่าเป็นซีกๆและได้ทิ้งเปลือกลงลอยในลำธารแห่งนั้นว่า “ แม่น้ำแตง “ จนถึงทุกวันนี้ เมื่อพระอานนท์นำแตงไปถวายพร้อมโภชนาอาหาร พระพุทธองค์ก็ได้เสวย ขณะที่กำลังเสวยอยู่นั้น พระทนต์ ( เขี้ยว ) ได้กระเทาะออก ( กระเทาะออกภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “ แหง “ พระพุทธองค์ได้มอบพระทนต์ที่กระเทาะออกนั้นให้อุบาสกอุบาสิกาชาวกระเหรี่ยงเพื่อเป็นทาน ( ทานเขี้ยวแหง ) ต่อมาเมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “ เมืองแหง “ พระพุทธองค์ได้ให้พระอานนท์ ที่กระเทาะนั้นบรรจุก่อเป็นสถูปไว้บนยอดเขาแห่งนั้น ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุแสนไหปัจจุบันนี้ จากนั้นพระพุธทองค์ กับพระอานนท์ได้เสด็จจาริกต่อไป ตอนกลางคืนพระบรมธาตุเกิดปาฏิหารย์ขึ้น โดยมีรัศมีแผ่สว่างไสวทั่วบริเวณนั้น ชาวกระเหรี่ยงได้นำความนั้นไปกราบทูลพระยาเจตบตรเจ้าเมืองพระยาเจตเจ้าเมืองได้ทราบก็เกิดปิติเป็นล้นพ้น จึงได้พาบริบาร ทหารไปนมัสการกราบไหว้สักระบูชา และตั้งจิตอฐิษฐานขอชมอภินิหารอีกครั้ง พอตก ตอนกลางคืนพระบรมธาตุก็เกิดปาฏิหารย์เช่นเดิม โดยมีรัศมีรุ่งโรจน์สว่างไสว เป็นเวลาพอประมาณแล้วก็ลงสู่ที่เดิม เมื่อพระยาเจตบุตรเห็นเป็นเช่นนั้นก็เกิดศรัทธาเสื่อมใสอย่างมากจึงประกาศให้ประชาชนในเมืองนั้น ให้สามัคคีร่วมใจกันก่อสร้างพระบรมธาตุขึ้น สิ่งที่ก่อสร้างพร้อมใจกันครั้งนั้นคือ ศาลา 2 หลังๆ หนึ่งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อีกหลังหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุโบสถ และสังฆวาสอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกแห่งพระบรมธาตุนั้นตามลำดับ มีกำแพงล้อมรอบพระบรมธาตุ พระวิหาร ศาลา ทั้งหมด อนึ่งตามตำนานเล่าสืบๆ กันมาว่า ภายใต้เขาที่ประดิษฐานพระบรมธาตุมีถ้ำ ภายในถ้ำมีทรัพย์สมบัติอันมีค่านานาประการ นับประมาณมูลค่าได้ถึงแสนไห จึงได้ชื่อว่า พระบรมธาตุแสนไห โบราณจารย์พรรณาไว้ว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วมีความสวยงามสง่างามเป็นระเบียบเรียบร้อย พระยาเจตบุตรพร้อมประชาชนจัดการเฉลิมสลองอย่างเอิกเกริกถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน แล้วได้ถวายทานไว้ในบวรพุทธศาสนาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ
ประวัติการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุแสนไห
ในปี พ.ศ. 2457 พ่อเมืองแหง (พ่อเหงซาววา) ร่วมกับชาวบ้านได้บูรณะ พระบรมธาตุแสนไห ปัจจุบันได้บูรณะขึ้นใหม่ เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ มีฐาน 8 เหลี่ยม วัดโดยรอบ 48 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดฉัตร 21 เมตร
ในปี พ.ศ. 2516 พระอธิการจันทร์ทิพย์ อต.ตธม.โม ได้ทำการบูรณะองค์พระบรมธาตุที่หลุดแล้วฉาบปูนองค์พระบรมธาตุใหม่
ในปี พ.ศ. 2539 หลวงพ่อเป่ง ปภส.สโร พระครูกันตศีลานุยุต เจ้าคณะอำเภอเวียงแหง พระใบฎีกามนตรี เจ้าคณะตำบลแสนไห นายบูรพา มหาบุญญานนท์ นายอำเภอเวียงแหง เป็นผู้นำในการบูรณะ พร้อมศรัทธาประชาชนเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติปีที่ 50 โดยการหุ้มทองจังโก๋องค์พระธาตุ
ปัจจุบัน
นับตั้งแต่นั้นมาก็ได้มาถือเอาวันดังกล่าวนี้เป็นประเพณีนมัสการสรงน้ำพระบรมธาตุเป้นประจำทุกปี ด้วยอำนาจแห่งพระบรมธาตุแสนไหนี้ ได้ดลบรรดาล ภิบาล ปกป้องคุ้มครองพระยาเจตบุตรและประชาชนในเมืองแหงให้สุขสบาย สุขใจ ฟ้าฝนตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาและพืชพันธ์ธัญญาหารก็งอกงามไพบูลย์ พระยาผู้ปกครองเมืองก็ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม ได้บำรุงพระพุทธศาสนาและวัดวาอารามก็ได้เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ
งานสำคัญทางศาสนาพระบรมธาตุแสนไห
เนื่องจากพระบรมธาตุแสนไหเป็นพระบรมธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความสำคัญเป็นที่พึ่งทางใจของชาวอำเภอเวียงแหง การกำหนดงานประจำปี จะมีขึ้น 4 ครั้ง ด้วยกัน งานที่สำคัญที่สุดคือ งานสงฆ์น้ำพระบรมธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ ของทุกปี งานมาฆบูชา จัดขึ้นในวัน 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ งานวันวิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญ เดือน 8 และงาน สงกรานต์ วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี พระบรมธาตุแสนไหเป็นศูนย์รวมจิตใจคนในอำเภอเวียงแหง และ เป็น พระบรมธาตุคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเวียงแหง หากผู้ใดไปอำเภอเวียงแหงแล้วไม่ได้ไปสักการะพระบรมธาตุก็ถือว่ายังไม่ได้ไปถึงอำเภอเวียงแหง
วิธีการเดินทาง : รถยนต์
ระยะทางและเวลาที่ใช้เดินทาง :พระบรมธาตุแสนไห อยู่ตำบลเมืองแหง จากบ้านเมืองงายเข้ามา 55 กิโลเมตร
พิกัด GPS: 19.78738 , 98.601471
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถามข้อมูล: เจ้าอาวาส พระมหาก่อเครือ กิตติญาโณ โทร. 080-6719029
วันเวลาทำการ : เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08.00 น. – 17.00 น.
สิ่งอำนวยความสะดวก : มีป้ายบอกทางชัดเจน
ร้านอาหารใกล้เคียง: มีร้านอาหารตามสั่งริมทาง
สถานที่พักใกล้เคียงพร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
-
ม่อนจุ๊ครัว บ้านกองลม ม.10 ต.เมืองแหง โทร. 086-1987888
-
บ้านสวนริมธาร บ้านเวียงแหง ม.10 ต.เมืองแหง โทร. 081-0341343
-
สถุงฆารฮัท บ้านป่าไผ่ ม.3 ต.เมืองแหง โทร. 081-0223703
-
ร้านป้าขิ่น บ้านเวียงแหง ม.4 ต.เมืองแหง โทร. 089-8549071
-
บ้านระเบียงไม้ บ้านจอง ต.แสนไห โทร. 053-049044
-
ห้องพักเชียงตุง บ้านเวียงแหง ม.4 ต.เวียงไห โทร. 053-477251
-
ไร่ช้างเผือก บ้านกองลม ม.2 ต.เวียงแหง
-
เปียงหลวงเกสท์เฮาส์ บ้านเปียงหลวง ม.1 ต.เปียงหลวง โทร. 053-476066
เอกสารอ้างอิง
-
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย: http://thai.tourismthailand.org
-
โรงเรียนเวียงแหงปริยัติศึกษา: http://www.whpy.ac.th/pratat/sanhai.html
-
|